ภาพประกอบบทความมัลแวร์คืออะไรและมีวิธีป้องกันและรับมือสำหรับผู้ใช้ Windows (What is malware and how do you prevent it for Windows users?)
w11

มัลแวร์คืออะไรและมีวิธีป้องกันและรับมือสำหรับผู้ใช้ Windows

ในยุคดิจิทัลยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก โดยท่านผู้ใช้งานอาจไม่ทราบว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็เป็นช่องทางที่ผู้ไม่หวังดีสามารถโจมตีและก่อความเสียหายต่อท่านได้ ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ผู้ไม่หวังนี้ใช้นั้นก็คือมัลแวร์ (Malware) โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงประเภทของมัลแวร์และภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ และวิธีป้องกันและรับมือสำหรับผู้ใช้ Windows

มัลแวร์ (Malware) คืออะไร?

เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อเข้าถึง หรือ ทำลายข้อมูลหรือใช้ในการเปิดทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้าควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ของท่านโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งท่านอาจสงสัยว่าในเมื่อท่านไม่เคยติดตั้งมัลแวร์ที่ดูเป็นอันตรายพวกนี้ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านแน่ ๆ แล้วมัลแวร์ พวกนี้เข้ามาได้อย่างไรในเมื่อมีเพียงท่านที่ใช้งานอุปกรณ์นี้ โดยมัลแวร์สามารถเข้ามาในระบบของผู้ใช้ได้ผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น

  • ดาวน์โหลดไฟล์แนบจากอีเมลที่เป็นมัลแวร์ฝังอยู่
  • การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์หรือไฟล์จากแหล่งที่ไม่เชื่อถือ (การติดตั้งโปรแกรมเถื่อน)
  • การเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย และการคลิกลิงค์
  • ใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ปลอดภัย (อุปกรณ์อาจถูกฝังมัลแวร์ไว้)

วิธีป้องกันและรับมือมัลแวร์ (Malware)

วิธีการคำอธิบายเพิ่มเติม
ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและมัลแวร์เลือกใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสมัลแวร์ที่มีความน่าเชื่อถือและทำการสแกนเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าระบบของคุณปลอดภัยจากผู้ไม่หวังดีอยู่เสมอ
อัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์เป็นตัวล่าสุดอัปเดต Windows และซอฟต์แวร์อื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยปิดช่องโหว่ที่ผู้ไม่หวังดีอาจใช้ในการโจมตีและเป็นการใช้งานฟังก์ชันที่ผู้ให้บริการพัฒนาใหม่อยู่ตลอด
ไม่ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่เชื่อถือไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมเถื่อน หรือไฟล์จากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่มีการรับรองความปลอดภัยจากผู้ให้บริการนั้น ๆ
ใช้รหัสผ่านที่แข็งแรงและการยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (Two-Factor Authentication)การตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อนและการยืนยันตัวตนแบบสองชั้นจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีต่างๆ เช่นอีเมลที่มีข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญ
หลีกเลี่ยงการคลิกลิงค์หรือโหลดไฟล์แนบที่ไม่น่าเชื่อถือตรวจสอบที่มาของอีเมลทุกครั้งว่าส่งจากผู้ส่งที่ถูกต้องและก่อนลิงค์คลิกทุกชนิดจะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตี
สำรองข้อมูล(Black up)การสำรองข้อมูลเป็นประจำจะช่วยป้องกันการสูญเสียข้อมูลในกรณีที่เครื่องของคุณถูกโจมตีหรือข้อมูลถูกผู้ไม่หวังดีเข้ารหัส
ตารางวิธีป้องกันและรับมือมัลแวร์ (Malware)

ข้อมูลโดยสรุป

มัลแวร์เป็นภัยคุกคามและเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ผู้ใช้ Windows ต้องตระหนักถึงความเสี่ยงในการใช้งานส่วนนี้อยู่เสมอ และควรรู้วิธีป้องกันตนเองจากสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปหากเผลอคลิกลิงค์จากผุ้ไม่หวังดีเพียง 1 ครั้งอาจทำให้ท่านสูญเสียข้อมูลที่มีค่าไปได้ การเลือกติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสมัลแวร์ และการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ลิขสิทธิ์แท้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในกรณีนี้ได้อย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบบทความทำไมใช้ Windows แท้แล้วเครื่องยังโหลดช้า (Why does using Windows still load slowly?)
w11

ทำไมใช้ Windows แท้แล้วเครื่องยังโหลดช้า

เมื่อท่านซื้อระบบปฏิบัติการ Windows ลิขสิทธิ์แท้ มาใช้งานนั้นย่อมต้องมีความคาดหวังได้รับประสบการณ์การใช้งานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่บางครั้งคุณอาจพบว่าปฏิบัติการยังโหลด หรือ ทำงานช้ากว่าปกติอยู่ แม้ว่าจะใช้ Windows แท้แล้วก็ตาม ในบทความนี้จะพาท่านไปสำรวจตรวจสอบหาสาเหตุที่อาจทำให้เครื่องและระบบปฏิบัติการของท่านช้าลง และวิธีการแก้ไขเบื้องต้นที่สามารถทำได้ เพื่อให้เครื่องของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สาเหตุที่จะทำให้เครื่องและWindows ของท่านช้า

  • ทรัพยากรฮาร์ดแวร์เวอร์ชันเก่า
    – สำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ไม่ตรงตามเงื่อนไขขั้นต่ำของ Windows อาจทำให้ระบบปฏิบัติการทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพได้
  • การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่จำเป็น
    – หากในคอมพิวเตอร์เครื่องที่ลง Windows แท้ไว้มีโปรแกรมหรือข้อมูลจำนวนมากมีส่วนทำการการทำงานของระบบปฏิบัติการช้ากว่าปกติได้
  • การใช้งานโปรแกรมหรือบริการที่ทำงานอยู่เบื้องหลังมากเกินไป
    – การที่มีโปรแกรมทำงานอยู่เบื้องหลังโดยหลายโปรแกรมนั้นอาจไม่ได้เปิดเป็น Pop up ท่านจึงอาจไม่ทราบว่ามีโปรแกรมนั้นๆทำงานอยู่ด้วยซึ่งหากมีโปรแกรมประเภทนี้มากก็ส่งผลทำให้ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่ตลอดเวลาและทำให้การทำงานส่วนอื่นล่าช้าได้
  • ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์
    – หากมีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อระบบปฏิบัติการ Windows ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • มัลแวร์และไวรัส
    -เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นอาจติด มัลแวร์และไวรัส ไว้ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีโปรแกรมเบื้องหลังทำงานอยู่ทำให้ระบบปฏิบัติการ Windows พบปัญหาการทำงานล่าช้าได้

ตารางสรปุสาเหตุและวิธีการแก้ไข (เบื้องต้น)

สาเหตุวิธีการแก้ไข
ทรัพยากรฮาร์ดแวร์เวอร์ชันเก่า เปลี่ยนหรือ อัพเกรด RAM, SSD
การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่จำเป็นลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้
การใช้งานโปรแกรมหรือบริการที่ทำงานอยู่เบื้องหลังปิดการใช้งานโปรแกรมที่ไม่จำเป็น
ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์ตรวจสอบปัญหาจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น CPU , RAM, SSD
มัลแวร์และไวรัสติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส, สแกนและลบมัลแวร์
ตารางสรปุสาเหตุและวิธีการแก้ไข (เบื้องต้น)

ข้อมูลโดยสรุป

ในบทความข้างต้นทางเราได้สำรวจสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows แท้ อาจทำงานช้ามาให้ตรวจสอบเบื้องต้นได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ จะพบว่าจะอยู่ที่ ฮาร์ดแวร์เป็นส่วนใหญ่ ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อเงื่อนไขขั้นต่ำของระบบปฏิบัติการWindows ตัวนั้นๆ และแนะนำวิธีตรวจสอบแก้ไขเบื้องต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่น่าสนใจ

ภาพประกอบหัวข้อMicrosoft 365 Admin Center คืออะไร ? (What is Microsoft 365 Admin Center?)
w11

Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

Microsoft 365 Admin Center คือ หน้าจัดการข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างอีเมล, การสร้าง Group, การดู Packet ที่ซื้อไว้ รวมทั้งการดูวันที่ต้องต่ออายุของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่ง Microsoft 365 Admin Center สามารถเข้าใช้งาน และ มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

การเข้าใช้งาน Microsoft 365 Admin Center

สามารถเข้าใช้งาน Microsoft 365 Admin Center ได้โดย คลิ๊กที่นี่ และลงชื่อเข้าใช้ด้วยอีเมลและรหัสผ่านที่มี

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

Microsoft 365 Admin Center สามารถทำอะไรได้บ้าง ?

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

Microsoft 365 Admin Center ประกอบไปด้วยหัวข้อหลัก ดังนี้

  • หน้าแรก – เป็นหน้าที่แสดงภาพรวมทั้งหมดของ Microsoft 365 ที่ท่านใช้บริการ
  • ผู้ใช้ – เป็นหัวข้อที่ใช้จัดการข้อมูลต่าง ๆ ของอีเมล
  • Teams และกลุ่ม – เป็นหัวข้อที่ใช้สำหรับจัดการ Group Mail
  • บทบาท – เป็นหัวที่ใช้กำหนดสิทธิ์ของอีเมลที่อยู่ภายในโดเมน
  • ทรัพยากร – เป็นหัวข้อสำหรับการจัดการต่าง ๆ เช่น การจองห้องประชุม, การจองรถของบริษัท หรือ การแชร์ลิงค์ เป็นต้น
  • การเรียกเก็บเงิน – เป็นหัวข้อสำหรับการตรวจสอบสถานะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูผลิตภัณฑ์ที่ซื้อไว้ หรือ ดูการต่ออายุ เป็นต้น
  • การสนับสนุน – เป็นหัวข้อสำหรับการติดต่อ Support หรือ ตามเคสที่เคยแจ้งขอความช่วยเหลือ
  • การตั้งค่า – เป็นหัวข้อสำหรับการตั้งค่าภาพรวมต่าง ๆ เช่น โดเมน, การกำหนดสิทธิ์ และอื่น ๆ
  • รายงาน – เป็นหัวข้อสำหรับดูข้อมูลการใช้งานต่างภายในโดเมน
  • สถานภาพ – เป็นหัวข้อการอัพเดทของ Microsoft 365 รวมถึงสามารถดูข้อติชมต่าง ๆ

ผู้ใช้

หัวข้อผู้ใช้มีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่

คือหัวข้อที่ใช้สำหรับดูอีเมลที่มีการสร้างไว้แล้ว หรือ ทำการสร้างอีเมลใหม่ ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่หน้านี้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

รายชื่อผู้ติดต่อ

คือหัวข้อที่ใช้สำหรับการเพิ่มอีเมล หรือ ข้อมูลที่ท่านต้องการติดต่อเป็นประจำ เพื่อให้ง่ายแก่การหาข้อมูล

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ผู้ใช้ที่เป็นผู้เยี่ยมชม

คือหัวข้อสำหรับเพิ่มอีเมลภายนอกโดเมน ให้สามารถเข้าใช้งานในส่วนของการประชุม หรือ ไฟล์งานที่ต้องการแชร์

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ผู้ใช้ที่ถูกลบ

คือหัวข้อสำหรับดูที่อีเมลที่ถูกลบไปแล้ว ว่าลบไปเมื่อใด และยังสามารถกู้อีเมลกลับมาได้จากหน้านี้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

Teams และกลุ่ม

หัวข้อ Teams และกลุ่มมีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ทีมและกลุ่มที่ใช้งานอยู่

คือหัวข้อที่ใช้สำหรับการจัดการทีมและกลุ่ม เช่นการสร้าง หรือ จัดการสมาชิกในกลุ่ม และยังสามารถดูทีมและกลุ่มที่สร้างไว้แล้วได้ที่หน้านี้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

นโยบาย

คือหัวข้อที่ใช้กำหนดสิทธิ์ และกฎต่าง ๆ ที่ใช้งานในทีมและกลุ่ม

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

กลุ่มที่ลบ

คือหัวข้อสำหรับดูทีมและกลุ่มที่ถูกลบไปแล้ว ว่าลบไปเมื่อใด และยังสามารถกู้กลุ่มกลับมาได้จากหน้านี้ (แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน หลังจากวันที่ลบ)

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

กล่องจดหมายที่แชร์

คือหัวข้อสำหรับการแชร์กล่องจดหมายที่ต้องการให้กับคนอื่นสามารถใช้งานอีเมลของท่านได้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

บทบาท

หัวข้อบทบาทมีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การมอบหมายบทบาท

คือหัวข้อที่ใช้การกำหนดบทบาทของอีเมลต่าง ๆ

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ทรัพยากร

หัวข้อทรัพยากรมีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ห้องและอุปกรณ์

คือหัวข้อที่ใช้สำหรับการเพิ่มห้องหรืออุปกรณ์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้งานสามารถจ้องเพื่อใช้งานได้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ไซต์

คือหัวข้อที่แสดงเว็บไซต์ที่มีภายในโดเมน และสามารถจำกัดการแชร์ได้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การเรียกเก็บเงิน

หัวข้อการเรียกเก็บเงินมีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ซื้อบริการ

คือหัวข้อที่ใช้ค้นหาผลิตภัณฑ์ และบริการที่พร้อมวางจำหน่ายโดยตรงจาก Microsoft ราคามาตรฐาน

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ผลิตภัณฑ์ของคุณ

คือหัวข้อที่แสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้ซื้อไว้ พร้อมแสดงวันที่ต้องต่ออายุ

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

สิทธิการใช้งาน

คือหัวข้อที่แสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้ซื้อไว้ มีการให้สิทธิ์ใช้งานไว้กับอีเมลใดบาง

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ใบเรียกเก็บเงินและการชำระเงิน

คือหัวข้อที่แสดงใบแจ้งหนี้ที่ต้องชำระ และวิธีการชำระเงิน

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

บัญชีการเรียกเก็บเงิน

คือหัวข้อที่แสดงบัญชีที่ใช้สำหรับชำระ และแสดงสถานะของบัญชีว่ามีการใช้งานอยู่หรือไม่

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

วิธีการชำระเงิน

คือหัวข้อที่ท่านสามารถเพิ่มช่องทางการชำระได้ เช่น บัตรเครดิต เป็นต้น

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การแจ้งเตือนการเรียกเก็บเงิน

คือหัวข้อที่ท่านสามารถตั้งค่าอีเมลที่ต้องการได้รับอีเมลแจ้งเตือนการต่ออายุ

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การสนับสนุน

หัวข้อการสนับสนุนมีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือและการสนับสนุน

คือหัวข้อที่ท่านสามารถสอบถามสิ่งที่สงสัย หรือ ต้องการความช่วยเหลือ

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ดูคำขอรับการสนับสนุน

คือหัวข้อที่สามารถดูประวัติการขอความช่วยเหลือ

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การตั้งค่า

หัวข้อการตั้งค่ามีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

โดเมน

คือหัวข้อสำหรับจัดการโดเมนที่ต้องการใช้งาน

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การค้นหาและระบบอัจฉริยะ

คือหัวข้อที่ท่านสามารถใช้งานฟังก์ชั่นการค้นหาและระบบอัจฉริยะได้ โดยสามารถออกแบบให้เข้ากับองค์กรได้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การตั้งค่าขององค์กร

คือหัวข้อที่ท่านสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นใดได้บ้าง หรือ แก้ไขโปรไฟล์องค์กร

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การสำรองข้อมูล ‎Microsoft 365‎

คือหัวข้อที่จะแสดงให้เห็นว่า Microsoft 365‎ ได้สำรองข้อมูลใด ๆ ไว้บาง แต่การใช้งานได้นั้น ท่ายต้องเปิดการตั้งค่าการสำรองข้อมูล ‎Microsoft 365 ก่อน

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

แอปเบ็ดเสร็จ

คือหัวข้อที่ให้ท่านได้เลือกดู หรือ ซื้อแอพพลิเคชั่นเสริมได้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

Viva

คือแพลตฟอร์มประสบการณ์ใช้งานด้านพนักงานที่รวบรวมการติดต่อสื่อสาร ความรู้ การเรียนรู้ ทรัพยากร และข้อมูลเชิงลึกในโฟลว์ของงาน

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ความสัมพันธ์กับคู่ค้า

คือหัวข้อที่สามารถตรวจสอบได้ว่าท่านใช้บริการ Microsoft 365 อยู่กับตัวแทนท่านใด

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

รายงาน

หัวข้อรายงานมีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

คะแนนการเริ่มนำไปใช้

คือหัวข้อที่แสดงคะแนนภาพรวมของการใช้งานทั้งองค์กร

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การใช้

คือหัวข้อที่แสดงการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ของ Microsoft 365

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ข้อความจากองค์กร

คือหัวข้อที่สามารถตั้งค่าให้ส่งหาผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ ในกรณีที่พบคีย์เวิร์ดตามที่ตั้งไว้

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

สถานภาพ

หัวข้อสถานภาพมีหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

สถานภาพของบริการ

คือหัวข้อที่สามารถดูได้ว่า Microsoft พบปัญหาใดอยู่ และยังมีการแก้ไขหรือไม่

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

ศูนย์ข้อความ

คือหัวข้อแสดงการ Update ของแอพพลิเคชั่นของ Microsoft 365

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

คำติชมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

คือหัวข้อที่จะแสดงคำติชมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Microsoft 365

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การเชื่อมต่อเครือข่าย

คือหัวข้อที่แสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายกับ Microsoft 365

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

การอัปเดตซอฟต์แวร์

คือหัวข้อที่แสดงการอัปเดตซอฟต์แวร์ภายในองค์กร ว่าเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันแล้วหรือไม่

ภาพประกอบบทความ Microsoft 365 Admin Center คืออะไร ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

w11

เราจะโดนอะไรบ้างถ้าใช้ Windows/Software ปลอม

หลายๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่าการใช้ Windows/Software ที่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์หรือพูดง่ายๆว่าของปลอม ซึ่งวิธีการได้มามีตั้งแต่ Crack หรือนำ Key ที่ไม่ถูกต้องมา Activate เพื่อให้สามารถใช้งานไปได้โดยไม่ถูกระงับการใช้งาน โดยมิได้สนใจเรื่องความปลอดภัยหรือความเสี่ยงในการตรวจสอบหรือการถูกฟ้องร้องจากการใช้ Software ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

เหตุใดองค์กรบางส่วนถึงใช้ Windows/Software ปลอม

เหตุผลหลักที่เราทราบกันดี คือ ค่าใช้จ่าย การใช้ Windows/Software ให้ถูกต้องนั้นตามมาด้วยค่าใช้จ่าย ซึ่งในองค์กรขนาดเล็ก-กลาง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ของธุรกิจ ผู้เขียนเคยได้คุยกับบางเจ้าของธุรกิจถึงกับกล่าวว่าหากจะใช้งานให้ถูกต้องบริษัทจะต้องปิดตัวทันทีเพราะไม่คุ้มกับรายได้ที่ได้รับ

ผลกระทบหากใช้ Software ปลอม

ภาพแสดงผลกระทบหากใช้งาน windows และ software ปลอมในองค์กร

ทำไม Software แท้ถึงมีราคาแพง

จริงๆแล้วต้นทุนในการพัฒนา Software ตัวใดตัวหนึ่งให้มีประสิทธิภาพ มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับนั้นมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง เพราะต้องใช้บุคลากรด้าน IT ชั้นนำระดับโลกร่วมวิจัยและพัฒนาแต่ความจริงแล้วราคาที่ทำการขายนั้นมิได้มีราคาที่สูงมากนักสำหรับกลุ่มประเทศยุโรป แต่เมื่อเทียบกับค่าเงินและค่าแรงในบางประเทศอาจจะทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก เช่น บาง Software มีราคา 7,000 บาทต่อเครื่องซึ่งหากขายในยุโรปก็เพียงค่าแรงขั้นต่ำ 2-3 วันเท่านั้น แต่สำหรับประเทศไทยอาจจะเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงมากสำหรับหลายๆธุรกิจ และนี่ทำไมเราถึงมองว่า Software แท้มีราคาแพง

เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรหากไม่มีงบประมาณ

  • Free OS ปัจจุบันมี Freeware ที่เป็นระบบปฏิบัติการ (OS) คือใครๆ ก็สามารถนำมา Setup และใช้งานได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่ก็ต้องยอมรับมากับความไม่คุ้นเคยต่อการใช้งานของพนักงาน แต่ถ้าองค์กรของคุณใช้งานได้ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไปจำนวนมากแทนการใช้งาน Windows ลิขสิทธิ์แท้
  • ใช้งานโปรแกรมทั้งหมดเป็น Freeware จริงๆแล้วมี Freeware จำนวนมากที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรม Thunderbird ที่อาจจะใช้ทำการเช็ค Email แทนโปรแกรม Outlook ได้เป็นต้น
  • เครื่อง Mac ปัจจุบันหากคุณซื้อเครื่อง Macbook, iMac จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ macOS มาพร้อมกับเครื่องโดยที่คุณไม่ต้องซื้อ OS มาลง และอาจจะต้องซื้อเพียง Microsoft Office 365 หรือใช้งาน Google Workspace เป็นต้นเพื่อใช้สำหรับการทำงาน ทำให้ประหยัดในส่วน OS ลงไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาพประกอบหัวข้อสเปคขั้นต่ำในการติดตั้ง Window 11 ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Minimum specs to install Windows 11 on your computer)
w11

สเปคขั้นต่ำในการติดตั้ง Windows 11 ในเครื่องคอมพิวเตอร์

Windows 11 เป็นระบบปฏิบัติการล่าสุดจาก Microsoft ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว มีความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม หากท่านต้องการอัพเกรดจาก Windows 10 หรือเปลี่ยนจากที่ใช้งานอยู่มาใช้งาน Windows 11 นั้นท่านต้องทราบถึงข้อกำหนด และ สเปคขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับการติดตั้ง Windows 11 โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้

ตารางแสดงสเปคขั้นต่ำสำหรับ ติดตั้ง Window 11

หัวข้อสเปคขั้นต่ำ
Processor1 GHz หรือเร็วกว่า, 2 คอร์ขึ้นไป , โปรเซสเซอร์ 64-bit ที่เข้ากันได้หรือ (SoC)
RAM4 GB
Storage64 GB
System FirmwareUEFI ที่รองรับ Secure Boot
TPMTrusted Platform Module (TPM) เวอร์ชัน 2.0
Graphics CardDirectX 12 หรือใหม่กว่าพร้อมไดรเวอร์ WDDM 2.0
DisplayความละเอียดHD (720p) , ขนาน 9 นิ้วขึ้นไป , การตั้งค่า bit ต่อช่องสี 8 bit
ตารางแสดงสเปคขั้นต่ำสำหรับ ติดตั้ง Window 11

สิ่งที่ต้องทราบเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้ง Windows 11

  • กรณีท่านใช้งาน Windows 10 และต้องการอัพเกรดเป็น Windows 11 ตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ของท่านผ่านเกณฑ์สเปคขั้นต่ำเหล่านี้ก่อนการอัพเกรด และ Windows 10 ที่ท่านใช้งานต้องเป็น Windows ลิขสิทธิ์แท้ และตรงกับตัวที่สามารถอัพเกรดเป็น Windows 11 ได้
  • ใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า “PC Health Check” ซึ่งสามารถใช้ตรวจสอบความเข้ากันได้ของคอมพิวเตอร์ของท่านว่าจะสามารถใช้งานได้กับ Windows 11 หรือไม่
  • การตั้งค่า UEFI และ Secure Boot ท่านอาจต้องเข้าไปปรับการตั้งค่าใน BIOS เพื่อเปิดใช้งาน UEFI และ Secure Boot หากยังไม่ได้เปิดใช้งาน เพื่อให้ตรงกับเงื่อนไขหัวข้อ System Firmware ตามตาราง

ข้อมูลโดยสรุป

การตรวจสอบและปรับเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ให้ตรงหรือสูงกว่าสเปคขั้นต่ำ ตามตารางแสดงสเปคขั้นต่ำสำหรับ ติดตั้ง Window 11 จะช่วยให้ท่านสามารถใช้งาน Windows 11 ได้ และใช้งานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างทีทันควรจะทำได้ โดยตรวจสอบได้อย่างง่ายดายที่สุดโดยดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม ที่ชื่อว่า “PC Health Check” ลงเครื่องคอมพิวเตอร์และตรวจสอบผ่านโปรแกรม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาพประกอบหัวข้อวิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ (How to install a genuine licensed Windows 11 operating system)
w11

วิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้

สำหรับท่านที่กำลังต้องการที่จะติดตั้ง Windows ลิขสิทธิ์แท้ แต่ไม่รู้ว่าจะติดตั้งอย่างไร และติดตั้งแบบถูกลิขสิทธิ์แท้ได้อย่างไร บทความนี้มีแนะนำ

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำการติดตั้ง !

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการลง Windows 11 นั้นเป็นเครื่องแบบใด

เนื่องจาก Windows 11 แบบถูกลิขสิทธิ์นั้นมีหลายรูปแบบทำให้การใช้งานก็ไม่เหมือนกัน เฉพาะนั้น ท่านต้องรู้ก่อนว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท่านต้องการลง Windows 11 นั้นเป็นแบบใด เช่น มี Windows 11 OME ติดมากับเครื่องแล้ว หรือ ร้านคอมลง Windows 11 แบบไม่ถูกต้องมาให้ ท่านจะได้เลือกซื้อ License ที่ตรงประเภทกับเครื่องของท่าน แต่อย่างไรก็แล้วแต่ สำหรับ Windows 11 แบบ CSP ท่านสามารถซื้อ License ประเภทนี้ และนำไปใช้งานที่เครื่องของท่านได้

Windows 11 แบบถูกลิขสิทธิ์นั้นมีหลายรูปแบบ ดังนี้

  • FPP เป็นลิขสิทธิ์แท้ที่ซื้อมาจากร้านค้าปลีก และมีรูปแบบแพ็คเกจเป็นกล่อง
  • OEM เป็นลิขสิทธิ์แท้ที่มาพร้อมกับฮาร์ดแวร์เท่านั้น เช่น PC, Server หรือ Mobile
  • CSP เป็นลิขสิทธิ์แท้ชนิดที่ซื้อแล้วใช้ได้ถาวร แต่ไม่สามารถอัพเกรด หรือนำไปใช้บน Cloud ได้ เพราะไม่มี SA

วิธีการติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ ด้วย License ประเภท CSP

ดาวน์โหลดตัวติดตั้งจากระบบ Microsoft 365 admin center

ภาพประกอบหัวข้อ “วิธีการติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ ด้วย License ประเภท CSP”

โดยเข้าไปดาวน์โหลดตัวติดตั้ง และเช็ค License ได้ดังนี้

1.Login เข้าหน้า Microsoft 365 admin center

ภาพประกอบหัวข้อ “วิธีการติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ ด้วย License ประเภท CSP”

2.เลือกหัวข้อ “การเรียกเก็บเงิน” และ “ผลิตภัณฑ์ของคุณ”

ภาพประกอบหัวข้อ “วิธีการติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ ด้วย License ประเภท CSP”

3.หัวข้อ “ผลิตภัณฑ์” จะแสดงผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ท่านได้ซื้อไว้

ภาพประกอบหัวข้อ “วิธีการติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ ด้วย License ประเภท CSP”

4.เลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการดาวน์โหลดตัวติดตั้ง โดยเลือกที่ “Download” และ “Show activation keys”

ภาพประกอบหัวข้อ “วิธีการติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ ด้วย License ประเภท CSP”

ติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ที่ดาวน์โหลดมาจากระบบ Microsoft 365 admin center ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ และ Activate keys Windows 11 แบบ CSP

ภาพประกอบหัวข้อ “วิธีการติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ ด้วย License ประเภท CSP”

ข้อควรระวัง !

ถ้าเครื่องของท่านไม่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows ที่นำตัวติดตั้งมาจากระบบ Microsoft 365 admin center เช่น ถ้าเครื่องเดิมขอท่านติดตั้งเป็น Windows 11 Pro อยู่ จะไม่สามารถนำ License Windows 11 Pro แบบ CSP ไป Activate ได้ ท่านจะต้องติดตั้ง Windows ใหม่ โดยท่านสามารถนำตัวติดตั้งที่ดาวน์โหลดจากระบบ Microsoft 365 admin center ไปติดตั้ง แล้วจึงจะนำ License Windows 11 Pro แบบ CSP ไป Activate ได้ และถ้าเดิมเครื่องของท่านเป็น Windows 11 Home OEM มากับเครื่อง ท่านสามารถทำตามวิธีก่อนหน้าที่อธิบายไปได้เลย

ส่วนถ้าเครื่องเดิมของท่านเป็นระบบปฏิบัติการ Windows ที่ต่ำกว่า Windows 10 แนะนำให้ท่านติดตั้ง Windows 11 Pro ใหม่ได้เลย เนื่องจากระบบปฏิบัติการ Windows 8 ทาง Microsoft end of support ไปแล้ว

หากต้องการซื้อ License ต้องทำอย่างไร ?

ท่านสามารถติดต่อสอบถามกับทางเทคโนโลยีแลนด์ที่ช่องทางดังนี้
Line ID: @technologyland
Call Center: 02-105-4104
Email: contact@technologyland.co.th
ซึ่งจะมีตารางแสดงราคา Windows แจ้งอยู่

ข้อมูลโดยสรุป

สำหรับท่านที่กำลังต้องการที่จะติดตั้ง Windows 11 แบบลิขสิทธิ์แท้ สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำการติดตั้งคือ 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการลง Windows 11 นั้นเป็นเครื่องแบบใด 2.รูปแบบของ Licens ที่ท่านต้องใช้ โดยท่านสามรถทำตามวิธีการติดตั้งด้านบนได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาพประกอบหัวข้อWindows 10 กับ Windows 11 ต่างกันอย่างไร ? (What is the difference between Windows 10 and Windows 11?)
w11

Windows 10 กับ Windows 11 ต่างกันอย่างไร ?

Windows 10 และ Windows 11 เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดย Microsoft ทั้งสองมีคุณลักษณะเฉพาะตัวที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ในยุคสมัยต่าง ๆ บทความนี้จะกล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง Windows 10 และ Windows 11 สำหรับผู้ใช้งาน Windows ลิขสิทธิ์แท้ ที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยในบางข้อท่านอาจไม่ได้สักเกตุถึงความเปลี่ยนแปลงไปนี้เลย พร้อมตารางเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนของทั้ง 2 แบบ

Windows 10 คืออะไร และเริ่มต้นใช้งานตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

Windows 10 เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดย Microsoft ซึ่งถูกออกแบบมาให้รองรับการทำงานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์(PC) , แล็ปท็อป , แท็บเล็ต หรือแม้แต่อุปกรณ์สมาร์ทโฟนบางรุ่นที่ก็ยังใช้งานได้ Windows 10 เป็นการปรับปรุงมาจากประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งาน Windows เวอร์ชันก่อน ๆ ให้มีความลื่นไหลมากขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน

Windows 10 ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 โดย Microsoft ได้ให้ผู้ที่ใช้งานWindows 7 และ Windows 8.1 อัปเกรดฟรีในช่วงปีแรกของการเปิดตัว ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการ ทางผู้พัฒนาอย่าง Microsoft ได้มีการออกการอัปเดตใหญ่ของ Windows 10 อยู่อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละสองครั้ง โดยการอัปเดตเหล่านี้มีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพ และแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่ทางผู้ใช้งานพบอยู่เสมอ

Windows 11 คืออะไร และเริ่มต้นใช้งานตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

Windows 11 เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นการพัฒนาขั้นต่อไปจาก Windows 10 ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับการออกแบบใหม่ให้สวยงามและใช้งานง่าย ดีไซน์และอินเทอร์เฟซใหม่ เพิ่ม Widgets แสดงข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข่าวสาร สภาพอากาศ และปฏิทิน และ การรองรับแอปพลิเคชันจากฝั่ง Android ได้ด้วยในบางแอปพลิเคชัน

Windows 11 ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 หรือ ค.ศ. 2021 โดย Microsoft ได้ให้ผู้ที่ใช้งาน Windows 10 อัปเกรดฟรีสำหรับผู้ใช้งานเวอร์ชั่นที่กำหนดและอุปกรณ์ที่ใช้งานตรงตามข้อกำหนดซึ่ง Windows 11 เป็นตัวที่ถูกพัฒนาขั้นต่อไปจาก Windows 10 ทำให้มีลูกเล่นและข้อแตกต่างด้านการใช้งานที่มากกว่า และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี แต่สำหรับผู้ใช้งานที่ใช้ Windows 10 มาเป็นเวลานานนั้นส่วนมากแล้วจะไม่ชินกับอินเทอร์เฟซใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป และในบางท่านถึงกับยอมไม่อัปเดต และยังใช้งาน Windows 10 อยู่จนถึงปัจจุบัน

ความแตกต่างระหว่าง Windows 10 และ Windows 11

หัวข้อWindows 10Windows 11
หน้าจอเริ่มต้นและอินเทอร์เฟซหน้าจอเริ่มต้นแบบหน้าจอสี่เหลี่ยม(Live Tiles)หน้าจอเริ่มต้นที่ถูกพัฒนาเป็นแบบ ไอคอน ให้ดูเรียบและใช้งานง่าย
การจัดการหน้าต่าง (Window Management)สามารถจัดหน้าต่างได้เพียง 2-3 แบบ ยกตัวอย่างการแบ่งครึ่งหน้าจอ 2 tapsจัดการหน้าต่างได้อย่างอิสระหลายรูปแบบมากขึ้น
การรองรับฮาร์ดแวร์รองรับอุปกรณ์ทั้ง เก่า และ ใหม่ มีข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่สูงขึ้น อุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ต้องตรงตามข้อกำหนด
ประสิทธิภาพการทำงานและเล่นเกมด้านการทำงานและเล่นเกมทั่วไปอยู่ในอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ สำหรับการเล่นเกม เช่น Auto HDR ทำให้การโหลดเกมเร็วขึ้นและภาพคุณภาพช่วงที่ใช้งานสูงขึ้น
การรักษาความปลอดภัย (Security)มีฟีเจอร์ความปลอดภัยพื้นฐานความปลอดภัยที่มากขึ้นด้วย ฟีเจอร์ การป้องกันที่เพิ่มขึ้น
การรองรับแอป Android (Android App Support)ไม่มีการรองรับการรันแอปพลิเคชัน Android โดยตรงสามารถรันแอปพลิเคชัน Android ผ่าน Microsoft Store โดยใช้ Amazon Appstore
User interface , background , Icon appสามารถย้าย Icon app ได้ตามต้องการ User interface เป็นรูปแบบเหลี่ยมปรับ Icon app , background , User interface ให้โค้งมลมีความทันสมัยสวยงานและน่าใช้งานมากขึ้น
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Windows 10 และ Windows 11

ข้อมูลโดยสรุป

จากข้อมูลที่ทางเราได้หามาข้างต้นนั้นผู้อ่านจะได้ทราบถึงข้อแตกต่างเล็กน้อยของ Windows 10 และ Windows 11 ซึ่งหากอ่านมาจนถึงข้อสรุปตรงนี้แล้วก็น่าจะได้คำตอบถึงความแตกต่างนั้นแล้ว จะอาจคิดว่า แนั้นมีความน่าใช้งานมากกว่าซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นแบบนั้นเนื่องจาก Windows 11 นั้นเป็นตัวอัปเกรดมาจาก feedbackของที่ผู้ใช้งาน Windows 10 เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นในทุกด้าน แต่สำหรับผู้ใช้งานที่ใช้ Windows 10 มาเป็นเวลานานนั้นส่วนมากแล้วจะไม่ชินกับอินเทอร์เฟซใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป และ ในบางท่านถึงกับยอมไม่อัปเดตหรือเลือกซื้อ Windows 10 ใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน

บทความที่เกี่ยวข้อง